นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะรักษาการอธิบดีกรมเจ้าท่า(จท.)เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 16 พ.ย.ที่ผ่านมา ได้ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการพัฒนาท่าเรือในแม่น้ำเจ้าพระยาจำนวน 3 ท่าเรือ งบประมาณรวม 93.05 ล้านบาท ได้แก่ 1.ท่าเรือราชินี งบประมาณ 30.30 ล้านบาท 2.ท่าเรือพายัพ งบประมาณ 17.85 ล้านบาท และ 3.ท่าเรือบางโพ งบประมาณ 44.9 ล้านบาท คาดว่าจะปรับปรุงและพัฒนาแล้วเสร็จภายในปลายปีนี้ จากนั้นจะเปิดให้บริการ มอบเป็น “ท่าเรือแห่งความสุข :HAPPY PIER”เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชนในปี 66 นี้ โดยมีรายละเอียดดังนี้
1.ท่าเรือราชินี เป็นหนึ่งในท่าเรือที่ได้รับการยกระดับให้เป็นท่าเรืออัจฉริยะ หรือSmart Pierในจุดเชื่อมต่อการเดินทางเข้าสู่เมืองและแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์รอบเกาะรัตนโกสินทร์ อีกทั้งเป็นจุดเชื่อมต่อระบบการขนส่ง เรือ-ราง-ล้อ ที่สมบูรณ์แบบ เชื่อมต่อระหว่างเรือโดยสาร รถโดยสารประจำทาง และ รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (สถานีสนามไชย)
นายสรพงศ์ กล่าวต่อว่า โดยการปรับปรุงพัฒนาท่าเรือราชินี ดำเนินการพัฒนาปรับปรุงก่อสร้าง ได้แก่ 1.ก่อสร้างอาคารพักผู้โดยสาร 2 ชั้น พื้นที่ 1,277 ตารางเมตร พร้อมพื้นที่ดาดฟ้าหลังคา ให้เป็นลานกิจกรรมใช้ประโยชน์เป็นจุดชมวิวริมแม่น้ำเจ้าพระยา พร้อมตกแต่งภายในบริเวณอาคารพักคอยเน้นความเป็นไทย มีระบบควบคุมและการให้บริการที่ทันสมัย 2.ก่อสร้างทางเดินเชื่อมท่าเรือกับพื้นที่บนฝั่งจุดเชื่อมต่อทางขึ้นสถานีรถไฟฟ้าสนามไชย พร้อมซุ้มประตูทางเข้าท่าเรือให้มีความเป็นเอกลักษณ์ และ 3.ก่อสร้างโป๊ะเทียบเรือ ขนาด 9×24 เมตร พร้อมสะพานปรับระดับขึ้นลงโป๊ะเทียบเรือ จำนวน 1 โป๊ะ
2.ท่าเรือพายัพ ได้ยกระดับให้เป็นท่าเรืออัจฉริยะ หรือSmart Pierที่มีมาตรฐานและความปลอดภัย แต่ยังปรับปรุงทัศนียภาพบริเวณทางเข้าท่าเรือ และติดตั้งระบบต่าง ๆ อันเป็นประโยชน์ต่อผู้โดยสารทุกคน สำหรับการปรับปรุงพัฒนาท่าเรือพายัพ ดำเนินการพัฒนาปรับปรุงก่อสร้าง ได้แก่ 1.ก่อสร้างอาคารพักผู้โดยสาร 1 ชั้น พื้นที่ประมาณ 270 ตารางเมตร โดยปรับปรุงโครงสร้างท่าเรือพายัพ ให้มีความเหมาะสม สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย รูปแบบสอดคล้อง กลมกลืนกับพระราชวังพายัพ รูปแบบสถาปัตยกรรมตะวันตกผสมผสานกับสถาปัตยกรรมวิจิตรศิลป์หรือสถาปัตยกรรมโบซาร์ (Beaux Arts)ใช้ประติมากรรมสมัยใหม่ผสมผสานกับศิลปะนีโอคลาสสิก ภายในออกแบบตกแต่งสถาปัตยกรรมไทยร่วมสมัย และ2.โป๊ะเทียบเรือรูปตัวแอลขนาด 9.4×24 เมตร พร้อมสะพานปรับระดับ จำนวน 1 ชุด
นายสรพงศ์ กล่าวต่อว่า และ 3.ท่าเรือบางโพ ได้ยกระดับให้เป็นท่าเรืออัจฉริยะหรือSmart Pierออกแบบสถาปัตยกรรมแบบร่วมสมัย (โมเดิร์น) ให้มีมาตรฐานและความปลอดภัย พร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกและสามารถเชื่อมโยงกับระบบขนส่งรูปแบบอื่น ๆ ได้อย่างไร้รอยต่อ โดยเฉพาะการเดินทางเชื่อมต่อระหว่างเรือโดยสาร รถโดยสารประจำทาง และรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (สถานีบางโพ) โดยการปรับปรุงพัฒนาท่าเรือบางโพ ดำเนินการพัฒนาปรับปรุงก่อสร้าง ได้แก่ 1.ก่อสร้างอาคารพักผู้โดยสาร 2 ชั้น พื้นที่ประมาณ 1,407 ตารางเมตร และ 2.โป๊ะเทียบเรือรูปตัวแอลขนาด 9.4×24 เมตร พร้อมสะพานปรับระดับ จำนวน 1 ชุด
เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จทั้ง 3 ท่าเรือ จะสามารถเชื่อมต่อกับระบบขนส่งสาธารณะอื่น เพื่อสร้างทางเลือกในการเดินทาง ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนดียิ่งขึ้น
กรมเจ้าท่าได้ดำเนินแผนพัฒนายกระดับท่าเรือโดยสารอัจฉริยะ (Smart Pier)ในแม่น้ำเจ้าพระยา ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ปี 62-68 จำนวน 29 ท่าเรือ ให้มีรูปลักษณ์ที่สวยงามเกิดเป็นจุดหมายตา (Landmark)ส่งเสริมการท่องเที่ยวทางน้ำ สร้างสิ่งอำนวยความสะดวก (อารยสถาปัตย์) เทคโนโลยีที่ทันสมัย เชื่อมต่อกับระบบขนส่งสาธารณะอื่นอย่างไร้รอยต่อ สะดวก ปลอดภัย และสามารถเข้าถึงได้ของคนทั้งมวล ตลอดจนพัฒนาระบบการให้บริการรองรับชีวิตวิถีใหม่ (New Normal)ตามนโยบายรัฐบาล และกระทรวงคมนาคม
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับแผนปรับปรุงท่าเรือ 29 ท่าเรือ งบประมาณ 942.6541 ล้านบาทนั้น ปัจจุบันปรับปรุงแล้วเสร็จและเปิดให้บริการแล้ว 5 ท่าเรือ งบประมาณ 89.981 ล้านบาท ได้แก่ ท่ากรมเจ้าท่า ท่าสะพานพุทธ ท่านนทบุรี ท่าช้าง และ ท่าสาทร ขณะเดียวกันอยู่ระหว่างปรับปรุงอีก 6 ท่า งบประมาณ 222.6731 ล้านบาท ได้แก่ ท่าเตียน ท่าราชินี ท่าพายัพ ท่าเกียกกาย ท่าบางโพ และ ท่าพระราม 7คำพูดจาก ทดลองเล่นสล็อต pg
นอกจากนี้ในปี 66 จะดำเนินการปรับปรุง 3 ท่าเรือ งบประมาณ 79 ล้านบาท ได้แก่ ท่าพระราม 5 ท่าพระปิ่นเกล้า และ ท่าปากเกร็ด จากนั้นในปี 67 มีแผนปรับปรุง 5 ท่าเรือ งบประมาณ 171 ล้านบาท ได้แก่ ท่าสี่พระยา ท่าเขียวไข่กา ท่าสะพานกรุงธน (ซังฮี้) ท่าพรานนก และ ท่าเทเวศร์ และในปี 68 มีแผนปรับปรุง 10 ท่าเรือ งบประมาณ 380 ล้านบาท ได้แก่ ท่าราชวงศ์ ท่าพิบูลสงคราม2 (นนทบุรี) ท่าวัดตึก ท่าพิบูลสงคราม1 ท่าวัดเขมา ท่าวัดสร้อยทอง ท่าวัดเทพากร ท่าวัดเทพนารี ท่ารถไฟ และ ท่าโอเรียนเต็ล